Chen (1995) ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง 30 คน โดยให้รับประทานถั่งเช่า 3-4 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 26±3 เดือน ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน แล้วทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเพียงยาแผนปัจจุบันจำนวน 34 คน ผลปรากฏว่าผู้ป่วยที่ได้รับถั่งเช่าร่วมกับยาแผนปัจจุบันมีดัชนีบ่งชี้อาการต่างๆ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อาการหายใจถี่ลดลง ซึ่งทำให้ไม่เหนื่อยง่าย สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายดีขึ้น อารมณ์/อาการทางจิตดีขึ้น และความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น[i]
Zhang และคณะ (1995) ได้ทำการศึกษาในผู้สูงอายุ ที่มีอาการอ่อนล้าง่ายโดยแบ่งกลุ่มผู้ทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกให้รับประทานถั่งเช่า ในอัตรา 3 กรัมต่อวันติดต่อกันนาน 3 เดือน จำนวน 26 คน และอีกกลุ่มหนึ่งให้กินสารที่ไม่มีฤทธิ์ใดๆ (Placebo) จำนวน 27 คน ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับถั่งเช่า มีจำนวนผู้ที่หายจากอาการอ่อนล้าง่ายได้ถึง 92% ในขณะที่กลุ่มที่รับสารทดแทนมีผู้ที่หายจากอาการอ่อนล้าง่ายเพียง 14%[ii]
Chen และคณะ (2010) ได้ทำการทดสอบสมรรถภาพการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (50-75 ปี) จำนวน 20 คน โดยการให้รับประทานถั่งเช่าอัตรา 1 กรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้กินสารที่ไม่มีฤทธิ์ใดๆ (Placebo) เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ แล้วทำการตรวจสอบวัดค่าเมทาโบไลท์ต่างๆ ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับถั่งเช่า มีค่าเมทาโบไลท์ทุกตัวดีขึ้นจากการออกกำลังกายเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานถั่งเช่า[iii]
[i] Chen G. (1995). Effects of Jinshuibao capsule on quality of life of patients with chronic heart failure. J Admin Trad Chinese Med. 5(suppl) : 40-43.
[ii] Zhang Z, Huang W, Liao S, Li J, Lei L, Leng F, Gong W, Zhang H, Wan L, Wu R, Li S, Luo H, Zhu F. (1995). Clinical and Laboratory studies of Jinshuibao in scavenging oxygen free radicals in elderly senescent XuZheng patients. J Admin Trad Chinese Med. 5(suppl) : 14-18.
[iii] Chen S, Li Z, Krochmal R, Abrazado M, Kim W, Cooper CB.(2010). Effect of Cs-4®(Cordyceps sinensis) on exercise performance in healthy older subjects : A double-blind, Placebo-Controlled Trial. J Altern Complement Med. 16(5): 585-590.
コメント