มีรายงานการวิจัยที่แสดงให้เห็นความสามารถในการต้านมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายของสาร cordycepin ที่สกัดได้จากถั่งเช่า[i],[ii] นอกจากนี้ยังมีสารออกฤทธิ์อื่นๆ ที่พบในถั่งเช่าที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอีกที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง[iii] อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีสารยับยั้งการสร้าง xanthine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ กรดยูริค สารยับยั้งการเหนี่ยวนำให้เม็ดเลือดแดงแตก และการย่อยสลายไขมัน ซึ่งผลปรากฏว่าถั่งเช่าธรรมชาติและถั่งเช่าที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ให้ผลดีในการทำงานทั้ง 3 กรณี ใกล้เคียงกันมาก และยังพบอีกว่าสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกได้จากถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยง มีประสิทธิภาพเป็น anti-oxidant เพิ่มขึ้น 10-30 เท่า[iv]
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า สมุนไพรจีนที่มีส่วนผสมของถั่งเช่าที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ และโรคตับจำนวน 101 คน (ชาย 67 และหญิง 34 คน) อายุเฉลี่ย 67.2±8.8 ปี เป็นระยะเวลา 0.8-100.8 เดือน (เฉลี่ย 13.4 เดือน) ซึ่งในผู้ป่วยเหล่านี้พบว่าเป็นโรคตับแข็ง 84%, hepatitis C 63%, hepatitis B 18%, โรคมะเร็งตับ 9% ซึ่งบางคนก็เป็น 2-3 โรคร่วมกัน ผลปรากฏว่าผู้ป่วยที่ได้รับสมุนไพรที่มีส่วนผสมของถั่งเช่า มีอายุยืนยาวกว่า ไม่มีผลข้างเคียง และมีศักยภาพในการทนต่อการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันได้ดีกว่า[v]
นอกจากนี้ Chen และคณะ (2010) ได้ศึกษาศักยภาพของสาร cordycepin จากถั่งเช่าในการเหนี่ยวนำทำให้เซลล์มะเร็งต่อมไทรอยด์ตาย (CGTH W-2) ซึ่งผลปรากฏว่าเซลล์มะเร็งต่อมไทรอยด์ลดความสามารถในการมีชีวิตต่อไปและตายในที่สุด ไม่กลายเป็นเนื้อร้าย[vi]
Yoshikawa และคณะ (2007) ได้ศึกษาศักยภาพของสาร cordycepin จากถั่งเช่าในการยับยั้งเซลล์ตั้งต้นของมะเร็งเม็ดเลือดขาวของมนุษย์ (promyelocytic leukaemia) (HL 60) ไม่ให้สามารถเจริญเติบโตได้[vii]
[i] Jordan JL, Nowak A, Lee TD. (2010). Activation of innate immunity to reduce lung metastases in breast cancer. Cancer Immunol Immunother. 59(5): 789-797.
[ii] Choi S, Lin MH, Kim KM, Jeon BH, Song WO, Kim TW. (2011) Cordycepin-induced apoptosis and antophagy in breast cancer cells are independent of the estrogen receptor. Toxicol Appl Pharmacol. 257(2): 165-173.
[iii] Kuo YC, Lin CY, Tsai WJ, WU CL, Chen CF, Shiao MS. (1994). Growth inhibitors against tumor cells in Cordyceps sinesis other than cordycepin and polysaccharides. Cancer Invest. 12(6): 611-615.
[iv] LI SP, LI P, Dong TTX, Tsin KW. (2001). Anti-oxidant activity of different type of natural Cordyceps sinensis and cultured Cordyceps mycelia. Phytomedicine. 8(3): 207-212.
[v] Niwa Y, Matsuura H, Murakami M, Sato J, Hirai K, Sumi H. (2013). Evidence that Naturopathic Therapy including Cordyceps sinensis Prolongs Survival of Patients with Hepatocellular Carcinoma. Integr Cancer Ther. 12(1): 50-68.
[vi] Chen Y, Chen YC, Lin YT, Huang SH, Wang SM.(2010). Cordycepin induces apoptosis of CGTH W-2 thyroid carcinoma cells through the calcium-calpain-caspase 7-PARP pathway. J Agric Food Chem. 58(22): 11645-11652.
[vii] Yoshikawa N, Nakamura K, Yamaguchi Y, Kagota S, Shinozuka K, Kunitoma M. (2007). Cordycepin and Cordyceps sinensis reduce the growth of the human promyelocytic leukaemia cells through the Wnt signaling pathway. Clin Exp Pharmacol Physiol. 34: S61-S63.]
Comentários